สงครามสะเทือนหุ้นไทย ต่างชาติขายทิ้งกว่าแสนล้าน
เจาะบัญชีเงินฝากคนไทย มีเงินเท่าไหร่? เข้าเกณฑ์ดิจิทัลวอลเล็ต
ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) เปิดเผยว่า เงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก หลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกเพิ่มขึ้น 10,000 ราย สู่ระดับ 210,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 207,000 ราย
ทั้งนี้เงินดอลลาร์ได้ปัจจัยบวกจากความกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ เฟด (Fed) อาจจะตรึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับสูงเป็นเวลานานกว่าที่คาดการณ์ไว้
หลังจากตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของสหรัฐฯ ไตรมาส 3 ปี 66 ขยายตัวแข็งแกร่งที่สุดในรอบเกือบ 2 ปี
เมื่อวานนี้ (26 ต.ค.66) นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดพันธบัตรไทย 1,718 ล้านบาท และขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย 1,557.66 ล้านบาท
โดยมองกรอบค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในช่วง 36.00 – 36.40 บาท/ดอลลาร์ แนะนำผู้นำเข้า ควรซื้อเงินตราต่างประเทศเพื่อปิดความเสี่ยง ผู้ส่งออกแนะนำขายเงินตราต่างประเทศที่เหนือระดับ 36.40 บาท/ดอลลาร์
กรอบค่าเงินวันนี้
- USD/THB 36.00 – 36.40
- EUR/THB 38.10 – 38.50
- JPY/THB 0.2390 – 0.2430
- GBP/THB 43.80 – 44.20
- AUD/THB 22.80 – 24.20
นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย ระบุว่าเงินดอลลาร์เคลื่อนไหวผันผวน มีจังหวะแข็งค่าขึ้นหลังรายงาน GDP สหรัฐฯ ออกมาดีกว่าคาด และธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
อย่างไรก็ดี เงินดอลลาร์พลิกกลับมาทยอยอ่อนค่าลงบ้าง ตามการปรับตัวลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 10 ปี (บอนด์ยีลด์) และแรงขายทำกำไรสถานะถือครองเงินดอลลาร์ ทำให้โดยรวมดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY) ย่อลงเล็กน้อยสู่ระดับ 106.6 จุด
สำหรับแนวโน้มของค่าเงินบาท มองว่า เงินบาทยังไม่สามารถพลิกกลับมาแข็งค่าขึ้นได้ชัดเจน ท่ามกลาง ภาวะปิดรับความเสี่ยงของตลาดการเงิน (Risk-Off) ซึ่งต้องรอจับตา ทิศทางฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะในฝั่งตลาดหุ้น ขณะที่การย่อตัวลงบ้างของบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ อาจช่วยชะลอแรงขายบอนด์ไทยจากนักลงทุนต่างชาติได้
ทั้งนี้ ในช่วงปลายเดือน โฟลว์ซื้อเงินดอลลาร์จากฝั่งผู้นำเข้าก็อาจยังคงเป็นปัจจัยกดดันเงินบาทฝั่งอ่อนค่าอยู่ ทำให้มองว่า เงินบาทยังมีโอกาสผันผวนอ่อนค่าทดสอบโซนแนวต้าน 36.30 บาทต่อดอลลาร์ (แนวต้านถัดไปจะอยู่ในโซน 36.50-36.60 บาทต่อดอลลาร์)
ขณะที่วันนี้ ไฮไลท์สำคัญที่ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตามอย่างใกล้ชิดคือ รายงานอัตราเงินเฟ้อ PCE ของสหรัฐฯ ในเดือน ก.ย.โดยบรรดานักวิเคราะห์ต่างมองว่า อัตราเงินเฟ้อ PCE และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน Core PCE ที่ไม่รวมผลของราคาอาหารและพลังงาน ก็มีแนวโน้มชะลอตัวลงต่อเนื่อง สู่ระดับ 3.4% และ 3.7% ตามลำดับ ซึ่งจะช่วยลดความจำเป็นที่เฟดจะต้องเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อได้ แต่อาจยังคงทำให้เฟดสามารถส่งสัญญาณคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงได้นาน (Higher for Longer) จนกว่าอัตราเงินเฟ้อจะชะลอตัวลงมากกว่าปัจจุบัน
เปิดสถิติ แบรนด์สมาร์ตโฟนที่ครองใจชาวไทยมากสุด ไตรมาส 3 ปี 2566
พยากรณ์ฝนล่วงหน้า 10 วัน ฝนลด-สัญญาณเริ่มต้นฤดูหนาว
เช็กสิทธิประกันสังคม เปิดใช้สิทธิเลือกตั้งผู้แทนบอร์ดประกันสังคม คำพูดจาก สล็อต777